หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

2565

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ : พย.บ.
ชื่อเต็ม : Bachelor of Nursing Science
ชื่อย่อ : B.N.S.
1.3 วิชาเอก : ไม่มี
1.4 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: 124 หน่วยกิต
1.5 รูปแบบของหลักสูตร
1.5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2560 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ.2563
1.5.2 ประเภทของหลักสูตร : หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ หรือปฏิบัติการ
1.5.3 ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย
1.5.4 การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยในการฟัง พูด อ่าน เขียนได้
1.5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : ไม่มี เป็นหลักสูตรเฉพาะของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
1.5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพียงสาขาวิชาเดียว
1.5.7 สถานที่จัดการเรียนการสอน :
การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ห้องปฏิบัติการพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการเสมือนจริง ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ หรือสถานการณ์จริงในชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสุขภาพทุกระดับ การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลในชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสุขภาพทุกระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับทุติยภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป ระดับตติยภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ เช่น โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลประสาท และสถาบันเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาลสวนปรุง ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ แหล่งฝึกจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ
2. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.1 ปรัชญาหลักสูตร
สถาบันพระบรมราชชนกมีปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” และมีอัตลักษณ์คุณธรรมตามที่สถาบันกำหนด “วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที” มีความรอบรู้ มีภูมิปัญญาในสาขาวิชาชีพ และมีสมรรถนะที่จำเป็นที่จะนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและวิกฤติที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกชั้นเรียน รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นบัณฑิตที่ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพแก่ชุมชน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ เชื่อว่าการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ปฏิบัติโดยใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อดูแลสุขภาวะของผู้รับบริการอย่างเป็นองค์รวมที่มีความสัมพันธ์กันทั้งตัวบุคคล สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาลครอบคลุมบทบาทใน 4 มิติทางการพยาบาลทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วย บำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพ บนพื้นฐานองค์ความรู้ของวิชาชีพ จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกชั้นเรียน การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งเรียนรู้ร่วมกับภาคส่วนและสหวิชาชีพ โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บัณฑิตที่มีสมรรถนะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีคุณธรรม จริยธรรม รู้รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำสามารถบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรมทางสุขภาพ ปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ และสามารถให้การดูแลในภาวะฉุกเฉิน
2.2 ความสำคัญของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในประเทศ สอดคล้องกับ บริบทของสังคมโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมปกติวิถีใหม่และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบันอย่างรวดเร็ว บัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเป็นบุคลากรที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่รวดเร็ว ทันสถานการณ์ และมีคุณลักษณะตามผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Education Objectives: PEOs)
2.3.1 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้:

1.มีความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัย ในภาวะปกติและเจ็บป่วย
2.ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และการปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ
4. มีทักษะการคิดขั้นสูงในการตัดสินใจแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
5. มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ และร่วมออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ
6. มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานเป็นทีม
7. มีความสามารถในการบริหารจัดการ และบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน
8. มีทักษะการใช้ภาษาและมีความสามารถในการสื่อสาร
9. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ในการเรียนรู้และการปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์
10. มีทักษะชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม
11. เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
12. เป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
13. มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ
3.ระบบการจัดการศึกษา
3.1 ระบบ : ระบบการจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค
3.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
: จัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ในชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 จำนวนชั้นปีละ 10 สัปดาห์
3.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
4. การดำเนินการหลักสูตร
4.1 การกำหนดเวลาและหน่วยกิต
กำหนดเวลาการคิดหน่วยกิต ดังนี้
ภาคทฤษฎี ใช้เวลาในการสอนไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง 30 ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษาปกติ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ภาคทดลอง ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ ใช้เวลาในการฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง การศึกษาด้วยตนเอง 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
ภาคฤดูร้อนให้กำหนดระยะเวลาศึกษาและจำนวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนตุลาคม - เดือนกุมภาพันธ์
ภาคฤดูร้อน
เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
วิชาทฤษฎี/ทดลอง ดำเนินการเรียนการสอนในวันจันทร์ - วันศุกร์/ตามที่วิทยาลัยกำหนด เวลา 08.00 - 16.00 น.
วิชาภาคปฏิบัติ ดำเนินการเรียนการสอนในวันจันทร์ - วันอาทิตย์ /ตามที่วิทยาลัยกำหนด
เวรเช้า เวลา 08.00 - 16.00 น.
เวรบ่าย เวลา 16.00 - 24.00 น.
เวรดึก เวลา 00.00-08.00 น.
การจัดการเรียนการสอนไม่เกิน 35 ชั่วโมง/สัปดาห์
4.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
4.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
ปัญหานักศึกษาแรกเข้าสามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากการเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องมีคำศัพท์เฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งต้องมีการสืบค้นข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมพื้นฐานภาษาอังกฤษ
ประเด็นที่ 2 ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เนื่องจากการเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้ทักษะการคำนวณในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์
ประเด็นที่ 3 การปรับตัวของนักศึกษา เนื่องจากการเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต นักศึกษาจำเป็นต้องเข้ามาพักอาศัยในหอพักร่วมกับผู้อื่น อาจมีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งอาจทำให้นักศึกษาไม่สามารถปรับตัวต่อการอยู่ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการคงอยู่ของนักศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัว
ประเด็นที่ 4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เนื่องจากการจัดการเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ มีการใช้โปรแกรมออนไลน์ในสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นักศึกษาที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัย มีความแตกต่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทุกคนมีความสามารถในในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3
กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา

ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า

กลยุทธ์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.ผลการประเมินทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแรกเข้าต่ำกว่าเกณฑ์ที่วิทยาลัยกำหนด

 

 

1. ประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

2. พัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด

3. ติดตามประเมินความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 100 ของนักศึกษามีผลการทดสอบภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ตามที่วิทยาลัยกำหนด ภายในชั้นปีที่ 1

2.ผลการประเมินทักษะคณิตศาสตร์แรกเข้าต่ำกว่าเกณฑ์ที่วิทยาลัยกำหนด

 

 

1. ประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ 

2. พัฒนาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด

ร้อยละ 100 ของนักศึกษามีผลการทดสอบคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่วิทยาลัยกำหนดภายในชั้นปีที่ 1

3.ปัญหาการปรับตัว

1. การอยู่ร่วมกับผู้อื่น

2. การเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา

 

 

1. ประเมินระดับความเครียดของนักศึกษาแรกเข้าและก่อนสิ้นสุดภาคการศึกษาที่ 1

2. จัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับตัวของนักศึกษาแรกเข้าในการเรียนรู้ เช่น แนะนำวิธีการการเรียนแบบ Active learning การเรียนรู้ในสังคมวิถีใหม่ (New Normal) และลักษณะวิชาชีพ

3. จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

4. จัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งวิชาการและทักษะชีวิตให้นักศึกษาทุกคน

- ร้อยละ 100 ของนักศึกษาแรกเข้าได้รับการเตรียมความพร้อมในการปรับตัว

- ร้อยละ 90 ของนักศึกษาแรกเข้าที่มีการคงอยู่

4.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแรกเข้าต่ำกว่าเกณฑ์ที่วิทยาลัยกำหนด

1. ประเมินความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 

2. พัฒนาความรู้และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด

ร้อยละ 100 ของนักศึกษามีผลการทดสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาผ่านเกณฑ์ที่วิทยาลัยกำหนด


4.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี
รับปีละ 150 คน คาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษา ปีละ 150 คน

        

         4.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี

          รับปีละ 150 คน คาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษา ปีละ 150   คน

ระดับชั้นปีของนักศึกษา

จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา

2565

2566

2567

2568

2569

ชั้นปีที่ 1

150

150

150

150

150

ชั้นปีที่ 2

 

150

150

150

150

ชั้นปีที่ 3

 

 

150

150

150

ชั้นปีที่ 4

 

 

 

150

150

รวมจำนวนนักศึกษา

 

 

 

600

600

จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

 

 

 

150

150

จำนวนอาจารย์ประจำ

51

50

51

50

50

จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES)

333.1

304.6

309.9

304.2

304.2

อัตราส่วนอาจารย์ประจำต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES)

1:6.53

1:6.09

1:6.08

1:6.08

1:6.08

หมายเหตุ จำนวนอาจารย์ประจำต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) จำแนกตามปีการศึกษาอยู่ในภาคผนวก ค

5.โครงสร้างหลักสูตร

        5.1 ระบบการจัดการศึกษา

การจัดการเรียนการสอนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนชั้นเรียน (On site) และออนไลน์ (Online)                                                               โดยจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ข้อบังคับว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2564 และตามข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

5.2 การเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย

เป็นไปตามข้อบังคับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2564 และตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2560

5.3 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร   124      หน่วยกิต

5.4 โครงสร้างหลักสูตร

5.4.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป      

30 หน่วยกิต

 

1)

กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร    

15 หน่วยกิต

2)

กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม

 6 หน่วยกิต     

3)

กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล  

 9 หน่วยกิต

5.4.2 หมวดวิชาเฉพาะ

88 หน่วยกิต

 

1)

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

17 หน่วยกิต

2)

กลุ่มวิชาชีพ      

71 หน่วยกิต

5.4.3 หมวดวิชาเลือกเสรี

6 หน่วยกิต

 

       

                            5.4.4 รายวิชาในหลักสูตร

            5.4.4.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

30    หน่วยกิต

 

1)

กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร        

15    หน่วยกิต 

 

GE 101

ภาษาไทยเชิงวิชาการ

Thai for Academic Purposes

3(2-2-5)

GE 102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

3(2-2-5)

GE 103

ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ

English for Academic Purposes

3(2-2-5)

GE 104

ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ

English for Academic Reading and Writing

3(2-2-5)

GE 105

ภาษาอังกฤษก้าวหน้า

Advanced English

3(2-2-5)

2) 

กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม

6  หน่วยกิต

 

GE 201

เราคือ สบช.

We are PBRI

3(2-2-5)

GE 209

พลเมืองวิวัฒน์

Active Citizens

3(2-2-5)

3) 

กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิทัล

9  หน่วยกิต

 

GE 301

ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

Entrepreneur in Digital Era

3(2-2-5)

GE 302

การรู้ดิจิทัล

Digital Literacy

3(2-2-5)

GE 305

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

Sciences and Mathematics in Daily Life

3(3-0-6)

            5.4.4.2 หมวดวิชาเฉพาะ

88 หน่วยกิต

 

1)

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ   

17 หน่วยกิต

 

0125300101

 

จุลชีวและปรสิตวิทยา

 Microbiology and Parasitology

2(2-0-4)

 

0125300102

 

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา

Anatomy and Physiology

3(2-2-5)

0125300103

 

ชีวเคมีและโภชนศาสตร์

Biochemistry and Nutrition

3(3-0-6)

 

0125300104

 

จิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด

Developmental Psychology and Thinking Process

2(1-2-3)

 

0125300205

 

เภสัชวิทยา

Pharmacology

2(2-0-4)

 

0125300206

 

พยาธิสรีรวิทยา

Pathophysiology

3(3-0-6)

 

0125300207

 

กฎหมาย จริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล 

Laws Ethics and Codes in Nursing Profession

2(2-0-4)

 

2)

กลุ่มวิชาชีพ      

71 หน่วยกิต

 

2.1) ภาคทฤษฎี     

35 หน่วยกิต

 

0125300208

 

มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล

Nursing Concepts, Theories and Nursing Process

2(1-2-3)

0125300209

 

การพยาบาลขั้นพื้นฐาน

Fundamentals of Nursing

3(2-2-5)

0125300210

 

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1

Adult and  Gerontological  Nursing I

3(2-2-5)

0125300211

 

การพยาบาลผู้สูงอายุ

Gerontological Nursing

2(1-2-3)

0125300212

 

การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

Pediatric and  Adolescent  Nursing

3(2-2-5)

 

0125300313

 

การพยาบาลสุขภาพชุมชน

Community Health Nursing

2(1-2-3)

 

0125300314

 

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2

Adult and   Gerontological   Nursing II            

2(1-2-3)

0125300315

 

วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล

Nursing Research and Innovation

3(1-4-4)

 

0125300316

 

การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1

Maternal Newborn and Midwifery  Nursing I

3(2-2-5)

0125300317

 

การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

Mental health and Psychiatric Nursing

3(2-2-5)

0125300418

 

การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2

Maternal Newborn and Midwifery Nursing II

3(3-0-6)

 

0125300419

 

การพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน     

Community Health Nursing and Administration 

2(1-2-3)

0125300420

 

การรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล  

Primary Medical Care for Nurses

2(1-2-3)

 

0125300421

การบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล

Nursing Administration and Quality Management

2(1-2-3)

2.2) ภาคปฏิบัติ

 36  หน่วยกิต

 

0125300222

 

ปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน  

Fundamentals of Nursing Practicum    

4(0-12-4)

 

0125300223

 

ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1

Adult and  Gerontological  Nursing Practicum I

3(0-9-3)

0125300224

 

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1

Pediatric and Adolescent Nursing Practicum I

2(0-6-2)

0125300325

 

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2

Pediatric and Adolescent Nursing Practicum II

2(0-6-2)

0125300326

 

ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน

Community Health Nursing Practicum

3(0-9-3)

0125300327

 

ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  2

Adult and  Gerontological  Nursing Practicum II   

3(0-9-3)

 

0125300328

 

ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ       

Gerontological Nursing Practicum

2(0-6-2)

0125300329

 

ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1

Maternal Newborn and Midwifery Nursing Practicum I

3(0-9-3)

0125300330

 

ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum

3(0-9-3)

0125300431

 

ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 Maternal Newborn and Midwifery Nursing Practicum II

3(0-9-3)

0125300432

 

ปฏิบัติการพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน 

Community Health Nursing and Administration Practicum

3(0-9-3)

0125300433

 

ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล 

Primary Medical Care for  Nurses  Practicum

3(0-9-3)

 

0125300434

 

 

ปฏิบัติการบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล  

Nursing Administration and Quality Management Practicum

2(0-6-2)

 

3.1.3.3 หมวดวิชาเลือกเสรี  

หน่วยกิต

 

0125300035

 

การพัฒนาบุคลิกภาพและวุฒิภาวะทางอารมณ์                           

Development of Personality and Emotional Quotient

2(2-0-4)

0125300036

 

พืชสมุนไพร

Medicinal Plants

2(2-0-4)

 

0125300037

 

ภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ

Thai Wisdom and Health Care

2(2-0-4)

 

0125300038

 

การศึกษาอิสระ      

Independent Study

2(0-4-2)

 

0125300039

 

การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

Physical Activity for Health Promotion

2(1-2-3)

0125300040

 

ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน

Chinese in Daily life

2(1-2-3)

0125300041

 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตใหม่

Sufficiency Economy Philosophy in New normal

2(2-0-4)

0125300042

 

พลวัตในกลุ่มและการทำงานเป็นทีม

Group Dynamic and Team Working  

2(1-2-3)

0125300043

 

สุนทรียศาสตร์

Aesthetics

 

2(2-0-4)

  1. แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1

     ภาคการศึกษาที่ 1  

GE 101

ภาษาไทยเชิงวิชาการ

Thai for Academic Purposes

3 (2-2-5)

GE 102

 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

3 (2-2-5)

GE 209

พลเมืองวิวัฒน์

Active Citizens

3 (2-2-5)

GE 302

การรู้ดิจิทัล

Digital Literacy

3 (2-2-5)

GE 305

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

Sciences and Mathematics in Daily Life

3 (3-0-6)

0125300102

 

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา

Anatomy and Physiology

3 (2-2-5)

 

                                                              รวม

18 (13-10-31)

 

     ภาคการศึกษาที่ 2  

  GE 201

 

เราคือสบช.

We are PBRI

3(2-2-5)

  GE 301

ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

Entrepreneur in Digital Era

3(2-2-5)

0125300101

 

จุลชีวและปรสิตวิทยา

Microbiology and Parasitology

2(2-0-4)

0125300103

 

ชีวเคมีและโภชนศาสตร์

Biochemistry and Nutrition

  3(3-0-6)

 

0125300104

 

จิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด

Developmental Psychology and Thinking Process

  2(1-2-3)

0125300XXX

เลือกเสรี 1

2(2-0-4)/2(1-2-3)

 

รวม

15(12-6-27)/15(11-8-26)

ภาคฤดูร้อน  

ม่มี 

 

 

ชั้นปีที่ 2

     ภาคการศึกษาที่ 1  

GE 103

ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ

English for Academic Purposes

3(2-2-5)

 

0125300206

 

พยาธิสรีรวิทยา

Pathophysiology

3(3-0-6)

 

0125300205

 

เภสัชวิทยา

Pharmacology

2(2-0-4)

0125300208

 

มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล

Nursing Concepts, Theories and Nursing Process

2(1-2-3)

0125300209

 

การพยาบาลขั้นพื้นฐาน

Fundamental of Nursing

3(2-2-5)

0125300222

 

ปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน  

Fundamental of Nursing Practicum    

4(0-12-4)

 

 

รวม

17(10-18-27)

      ภาคการศึกษาที่ 2

GE 104

ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ

English for Academic Reading and Writing

3(2-2-5)

0125300212

 

กฎหมาย จริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล

Laws Ethics and Codes in Nursing Profession

2(2-0-4)

0125300210

 

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1

Adult and Elderly Nursing I

3(2-2-5)

0125300211

 

การพยาบาลผู้สูงอายุ

Gerontological Nursing

2(1-2-3)

0125300212

 

การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

Pediatric and Adolescent Nursing

3(2-2-5)

0125300XXX

เลือกเสรี 2

2(2-0-4)/2(1-2-3)

รวม

15(11-8-26)/15(10-10-25)

      ภาคฤดูร้อน

0125300223

 

ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1

Adult and Elderly Nursing Practicum I

3(0-9-3)

0125300224

 

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1

Pediatric and Adolescent Nursing Practicum I

2(0-6-2)

 

รวม

5(0-15-5)

 

ชั้นปีที่ 3

      ภาคการศึกษาที่ 1

0125300313

 

การพยาบาลสุขภาพชุมชน

Community Health Nursing

2(1-2-3)

 

0125300314

 

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2

Adult and Elderly Nursing II            

2(1-2-3)

0125300315

 

วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล

Nursing Research and Innovation

3(1-4-4)

0125300316

 

การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1

Maternal and Newborn Nursing and Midwifery I

3(2-2-5)

 

0125300317

 

การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

Mental health and Psychiatric Nursing

3(2-2-5)

0125300XXX

เลือกเสรี 3

    2(2-0-4)/2(1-2-3)

รวม 15(9-12-24)/15(8-14-23)

ภาคการศึกษาที่ 2

0125300325

 

ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2

Pediatric and Adolescent Nursing Practicum II

2(0-6-2)

0125300326

 

ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน

Community Health Nursing Practicum

3(0-9-3)

0125300327

ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2

Adult and Elderly Nursing Practicum II            

3(0-9-3)

 

0125300330

 

ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum

3(0-9-3)

 

 

รวม

11(0-33-11)

ภาคฤดูร้อน

0125300328

 

ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ       

Elderly Nursing Practicum

2(0-6-2)

0125300329

ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1

3(0-9-3)

 

Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum I

 

รวม

5(0-15-5)


ชั้นปีที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1

GE 105

ภาษาอังกฤษก้าวหน้า

Advanced English

3(2-2-5)

0125300418

 

การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2

Maternal and Newborn Nursing and Midwifery II

3(3-0-6)

 

0125300419

 

การพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน Community Health Nursing and Administration

2(1-2-3)

0125300420

 

การรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล  

Primary Medical Care for Nursing

2(1-2-3)

 

0125300421

 

การบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล Nursing Administration and Quality Management

2(1-2-3)

 

รวม

12(8-8-20)

 

ภาคการศึกษาที่ 2

0125300431

 

ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2

Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum II

3(0-9-3)

0125300432

 

ปฏิบัติการพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน 

Community Health Nursing and Administration Practicum

3(0-9-3)

0125300433

 

ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล 

Primary Medical Care for Nurses Practicum

3(0-9-3)

 

0125300434

 

ปฏิบัติการบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล Nursing Administration and Quality Management Practicum

2(0-6-2)

 

 

รวม

11(0-33-11)

 

2560

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รหัสและชื่อหลักสูตร
1.1)  รหัสหลักสูตร 25520041108056
1.2)  ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย     : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : พยาบาลศาสตรบัณฑิต     : พย.บ.
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science                       : B.N.S
วิชาเอก          ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
   รูปแบบ
      หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
      ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ประเภทของหลักสูตร
      หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
ภาษาที่ใช้
      ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และใช้ภาษาอังกฤษในการสอนร่วมด้วย
การรับเข้าศึกษา
      นักศึกษาไทย และ นักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
      เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
      ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว และเป็นปริญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถานที่จัดการเรียนการสอน :
      ในสถานที่ตั้งวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

2.ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร


2. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
      2.1 ปรัชญาหลักสูตร

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่มีความเชื่อว่าการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีศาสตร์และศิลป์ในการใช้กระบวนการพยาบาลดูแลสุขภาพแก่ผู้รับบริการแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลอย่างเอื้ออาทร (Caring) บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Care) เพื่อตอบสนองระ บบบริการสุขภาพของชาติ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงทั้งทฤษฏีและปฏิบัติทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น และสามารถวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจทางคลินิกที่ดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดสมรรถนะเชิงวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และสามารถดำรงตนในสังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

      2.2 ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการผลิตพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ใช้บริการแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลอย่างเอื้ออาทร (Caring) บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic Care) เนื่องจากระบบบริการสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปตามผลกระทบของบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จากสถานการณ์ดังกล่าวผลกระทบที่ตามมาคือ ภาวะพึ่งพิง การเจ็บป่วยเรื้อรัง ความต้องการการดูแล การจัดการปัญหาสุขภาพต่างๆ การบริการสุขภาพต้องปรับยุทธศาสตร์เชิงรุกที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพแก่บุคคลในสังคมทุกช่วงวัย โดยเน้นผู้ใช้บริการเป็นผู้ขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ นำภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมสุขภาพ และหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการให้บริการทางด้านสุขภาพ ตอบสนองความต้องการของระบบบริการสุขภาพ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความขาดแคลนพยาบาลในระบบบริการสุขภาพ
      2.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะดังนี้
   2.3.1. มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีความเอื้ออาทร สำนึกในสิทธิและหน้าที่ของตน ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   2.3.2. มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้กระบวนการพยาบาล ภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมสุขภาพ หลักฐานเชิงประจักษ์ และประยุกต์ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลสุขภาพแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน
   2.3.3.มีความสนใจใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ รู้จักแก้ปัญหาในการปฏิบัติการพยาบาลและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพโดยอาศัยความรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์และงานวิจัย
   2.3.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความสามารถในการบริหารจัดการ และสามารถทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
   2.3.5 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
   2.3.6. มีความสามารถให้การพยาบาลได้อย่างเป็นองค์รวมด้วยความเอื้ออาทรแก่ผู้รับบริการทุกช่วงวัย ทุกภาวะสุขภาพ ทุกระดับของสถานบริการสุขภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยใช้ศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาล ภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณของวิชาชีพ


3.ระบบการจัดการศึกษา


3.1. ระบบการจัดการศึกษา
      3.1.1 ระบบ
              ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิตทวิภาค โดยแต่ละในปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค
              ภาคการศึกษา ปกติ และ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน
      3.1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
              มีภาคฤดูร้อนในการเรียนชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3
       3.1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
              ไม่มี

4.การดำเนินการหลักสูตร

4. การดำเนินการหลักสูตร
4.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
เป็นระบบทวิภาค คือ ภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงธันวาคม ภาคการศึกษาที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม ในเวลาราชการ
4.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
4.2.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์
4.2.2 เป็นผู้มีความประพฤติดี
4.2.3 มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือ มีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4.2.4 มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนด
4.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
4.3.1 ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอ
4.3.2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ
4.3.3 การปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
4.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3
4.4.1 จัดสอนเสริมเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน
4.4.2 จัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แนะนำการวางเป้าหมายชีวิต เทคนิคการเรียนในวิทยาลัยและการแบ่งเวลา
4.4.3 จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตักเตือน ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาและให้เน้นย้ำในกรณีที่นักศึกษามีปัญหาตามข้างต้นเป็นกรณีพิเศษ
4.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 4 ปี

จำนวนนักศึกษา
ปีการศึกษา 2564
ปีการศึกษา 2565
ปีการศึกษา 2566
ปีการศึกษา 2567
ปีการศึกษา 2568
ชั้นปีที่ 1
150
150
150
150
150
ชั้นปีที่ 2
-
150
150
150
150
ชั้นปีที่ 3
-
-
150
150
150
ชั้นปีที่ 4
-
-
-
150
150
รวมจำนวนนักศึกษา
150
300
450
600
600
จำนวนบัณฑิตที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
-
-
-
150
150

5.โครงสร้างของหลักสูตร

ระบบการศึกษา
แบบชั้นเรียน
การเทียบโอนหน่วยกิต/รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน
1. การเทียบโอนหน่วยกิต และรายวิชา ต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย และต้องเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกาศหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้ของสถาบันพระบรมราชชนก ปี พ.ศ. 2554 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2553
2. การลงทะเบียนข้ามสถาบัน ไม่มี หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ใช้ระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ 8 ภาคการศึกษาปกติ 2 ภาคฤดูร้อน และไม่เกิน 8 ปี
          3.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร      136   หน่วยกิต
          3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป      30        หน่วยกิต
-  กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร      14        หน่วยกิต
-  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์       8      หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี 6 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ 100 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 24 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาชีพ 76 หน่วยกิต
- วิชาทฤษฎี 40 หน่วยกิต
- วิชาปฏิบัติ 36 หน่วยกิต
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
3.1.3 กระบวนวิชา
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป      จำนวน 30 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร      จำนวน 14 หน่วยกิต
ภ. 1101 ภาษาไทยเชิงวิชาการ 2(2-0-4)
L 1101 Thai for Academic Purposes
ภ. 1102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 3(3-0-6)
L 1102 English for Communication 1
ภ. 1103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 3(3-0-6)
L 1103 English for Communication 2
ภ. 1204 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
L 1204 English for Academic Purposes
ภ. 1305 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ 3(2-2-5)
L 1305 English for Professional Purposes

2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 8 หน่วยกิต
สม. 1101 มนุษย์กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2(2-0-4)
SH 1101 Human, Health and Environment
สม. 1102 ศิลปะ อารยธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2(2-0-4)
SH 1102 Arts, Civilization and Local Wisdoms
สม. 1103 การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ 2(2-0-4)
SH 1103 Development of Systematic Thinking
สม. 1104 ศาสนาและปรัชญาเพื่อการดำเนินชีวิต 2(2-0-4)
SH 1104 Religions and Philosophy for Living

3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 6 หน่วยกิต
วค. 1101 คณิตศาสตร์สำหรับชีวิตในยุคสารสนเทศ 2(2-0-4)
Sc 1101 Mathematics for Life in the Information Period
วค. 1102 วิทยาศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต 2(2-0-4)
Sc 1102 Science for Living
วค. 1103 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประยุกต์ใช้ 2(2-0-4)
Sc 1103 Information Technology for Application

4) กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม จำนวน 2 หน่วยกิต
รก. 1101 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2(0-6-0)
LA 1101 Learning Through Activities


(2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 100 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 24 หน่วยกิต

พ. 1101 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 3(2-2-5)
P 1101 Microbiology and Parasitology
พ. 1102 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 3(2-2-5)
P 1102 Anatomy and Physiology 1
พ. 1103 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2 3(2-2-5)
P 1103 Anatomy and Physiology 2
พ. 1104 จิตวิทยาและพัฒนาการตามวัย 2(2-0-4)
P 1104 Psychology and Development
พ. 1105 ชีวเคมี 3(2-2-5)
P 1105 Biochemistry
พ. 1106 โภชนศาสตร์และสุขภาพ 2(2-0-4)
P 1106 Nutrition and Health
พ. 1207 เภสัชวิทยา 3(3-0-6)
P 1207 Pharmacology
พ. 1208 พยาธิสรีรวิทยา 3(3-0-6)
P 1208 Pathophysiology
พ. 1409 เศรษฐศาสตร์กับระบบสุขภาพ 2(2-0-4)
P 1409 Economics and Health System

2) กลุ่มวิชาชีพ จำนวน 76 หน่วยกิต
2.1 วิชาทฤษฎี จำนวน 40 หน่วยกิต
พย. 1201 มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล 2(2-0-4)
Nu 1201 Nursing Concepts, Theories and Nursing Process
พย. 1202 หลักการและเทคนิคการพยาบาล 3(2-2-5)
Nu 1202 Principles and Techniques in Nursing
พย. 1204 การสื่อสาร การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ 2(1-2-3)
Nu 1204 Communicating, Health Education, and Health Counseling
พย. 1205 จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล 3(3-0-6)
Nu 1205 Ethics and Laws in Nursing Profession
พย. 1206 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 3(3-0-6)
Nu 1206 Pediatric and Adolescent Nursing
พย. 1209 การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(3-0-6)
Nu 1209 Adult Nursing 1
พย. 1211 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 2(2-0-4)
Nu 1211 Adult Nursing 2
พย. 1213 การพยาบาลผู้สูงอายุ 2(2-0-4)
Nu 1213 Gerontological Nursing
พย. 1219 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 3(3-0-6)
Nu 1219 Mental Health and Psychiatric Nursing
พย. 1221 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 3(3-0-6)
Nu 1221 Maternal and Newborn Nursing and Midwifery 1
พย. 1315 การพยาบาลชุมชน 1 3(3-0-6)
Nu 1315 Community Nursing 1
พย. 1325 การวิจัยทางการพยาบาล 2(1-2-3)
Nu 1325 Nursing Research
พย. 1417 การพยาบาลชุมชน 2 2(2-0-4)
Nu 1417 Community Nursing 2
พย. 1423 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 3(3-0-6)
Nu 1423 Maternal and Newborn Nursing and Midwifery 2
พย. 1426 การรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2(1-2-3)
Nu 1426 Primary Medical Care
พย. 1428 การบริหารและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล 2(2-0-4)
Nu 1428 Administration and Trends of Nursing Profession

2.2 วิชาปฏิบัติ จำนวน 36 หน่วยกิต

พย. 1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 4(0-12-0)
Nu 1203 Principles and Techniques in Nursing Practicum
พย. 1307 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 2(0-6-0)
Nu 1307 Pediatric and Adolescent Nursing Practicum 1
พย. 1308 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 2(0-6-0)
Nu 1308 Pediatric and Adolescent Nursing Practicum 2
พย. 1310 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(0-9-0)
Nu 1310 Adult Nursing Practicum 1
พย. 1312 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 3(0-9-0)
Nu 1312 Adult Nursing Practicum 2
พย. 1314 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 2(0-6-0)
Nu 1314 Gerontological Nursing Practicum
พย. 1316 ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 1 3(0-9-0)
Nu 1316 Community Nursing Practicum 1
พย. 1320 ปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 3(0-9-0)
Nu 1320 Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum
พย. 1322 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 4(0-12-0)
Nu 1322 Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum 1
พย. 1418 ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 2 3(0-9-0)
Nu 1418 Community Nursing Practicum 2
พย. 1418 ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 2 3(0-9-0)
Nu 1418 Community Nursing Practicum 2
พย. 1424 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 2(0-6-0)
Nu 1424 Maternal and Newborn Nursing and Midwifery Practicum 2
พย. 1427 ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 3(0-9-0)
Nu 1427 Primary Medical Care Practicum
พย. 1429 ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล 2(0-6-0)
Nu 1429 Nursing Administration Practicum

(3) หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
ให้เลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
ล. 1001 การพัฒนาบุคลิกภาพและวุฒิภาวะทางอารมณ์ 2(2-0-4)
E 1001 Personality Development and Emotional Quotient
ล. 1002 หลักรัฐศาสตร์และการเมืองการปกครองของไทย 2(2-0-4)
E 1002 Principle of Political Science and Thai Government Politics
ล. 1003 ภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ 2(1-2-3)
E 1003 Thai Wisdom and Health Care
ล. 1004 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 2(0-6-0)
E 1004 Exercise for Health
ล. 1005 พืชสมุนไพร 2(2-0-4)
E 1005 Herbs
ล. 1006 ธุรกิจเบื้องต้นในการบริการสุขภาพและการตลาด 2(2-0-4)
E 1006 Introduction to Business in Health Care Services and Marketing
ล. 1007 การนวดแผนไทย 2 (1-2-3)
E 1007 Thai Traditional Massage
ล. 1008 การศึกษาอิสระ 2(0-6-0)
E 1008 Independent Study

6.แผนการศึกษา


ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 1

ภ. 1101 ภาษาไทยเชิงวิชาการ 2(2-0-4)
ภ. 1102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 3(3-0-6)
วค. 1101 คณิตศาสตร์สำหรับชีวิตในยุคสารสนเทศ 2(2-0-4)
วค. 1102 วิทยาศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต 2(2-0-4)
สม. 1101 มนุษย์กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2(2-0-4)
สม. 1103 การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ 2(2-0-4)
สม. 1104 ศาสนาและปรัชญาเพื่อการดำเนินชีวิต 2(2-0-4)
รก. 1101 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 2(0-6-0)
พ. 1102 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 3(2-2-5)
รวม 20 หน่วยกิต 20(17-8-35)

ภาคการศึกษาที่ 2

ภ. 1103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 3(3-0-6)
วค. 1103 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประยุกต์ใช้ 2(2-0-4)
สม. 1102 ศิลปะ อารยธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2(2-0-4)
พ. 1101 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 3(2-2-5)
พ. 1103 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2 3(2-2-5)
พ. 1104 จิตวิทยาและพัฒนาการตามวัย 2(2-0-4)
พ. 1105 ชีวเคมี 3(2-2-5)
พ. 1106 โภชนศาสตร์และสุขภาพ 2(2-0-4)
รวม 20 หน่วยกิต 20(17-6-37)
รวมตลอดชั้นปีที่ 1 ลงทะเบียนเรียนจำนวน 40 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาที่ 1


ภ. 1204 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
พ. 1207 เภสัชวิทยา 3(3-0-6)
พ. 1208 พยาธิสรีรวิทยา 3(3-0-6)
พย. 1201 มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล 2(2-0-4)
พย. 1202 หลักการและเทคนิคการพยาบาล 3(2-2-5)
พย. 1204 การสื่อสาร การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ 2(1-2-3)
พย. 1205 จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล 3(3-0-6)
รวม 19 หน่วยกิต 19(16-6-35)
ภาคการศึกษาที่ 2
พย. 1206 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 3(3-0-6)
พย. 1209 การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(3-0-6)
พย. 1211 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 2(2-0-4)
พย. 1213 การพยาบาลผู้สูงอายุ 2(2-0-4)
พย. 1219 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 3(3-0-6)
พย. 1221 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 3(3-0-6)
ล.……………. เลือกเสรี1 2 (- - -)
ล……………. เลือกเสรี2 2 (- - -)
รวม 20 หน่วยกิต 20(16-0-32 บวกวิชาเลือก)


ภาคฤดูร้อน
พย. 1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 4(0-12-0)
รวม 4 หน่วยกิต 4(0-12-00)
รวมตลอดชั้นปีที่ 2 ลงทะเบียนเรียนจำนวน 43 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่ 1

พย. 1307 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 2(0-6-0)
พย. 1310 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 3(0-9-0)
พย. 1314 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 2(0-6-0)
พย. 1322 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 4(0-12-0)
รวม 11 หน่วยกิต 11(0-33-0)


ภาคการศึกษาที่ 2
ภ. 1305 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพ 3(2-2-5)
พย. 1312 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 3(0-9-0)
พย. 1315 การพยาบาลชุมชน 1 3(3-0-6)
พย. 1320 ปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 3(0-9-0)
พย. 1325 การวิจัยทางการพยาบาล 2(1-2-3)
รวม 14 หน่วยกิต 14(6-22-14)

ภาคฤดูร้อน
พย. 1308 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 2(0-6-0)
พย. 1316 ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 1 3(0-9-0)
รวม 5 หน่วยกิต 5(0-15-0)
รวมตลอดชั้นปีที่ 3 ลงทะเบียนเรียนจำนวน 30 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาที่ 1

พ. 1409 เศรษฐศาสตร์กับระบบสุขภาพ 2(2-0-4)
พย. 1417 การพยาบาลชุมชน 2 2(2-0-4)
พย. 1423 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 3(3-0-6)
พย. 1426 การรักษาพยาบาลเบื้องต้น 2(1-2-3)
พย. 1428 การบริหารและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล 2(2-0-4)
พย. 1427 ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 3(0-9-0)
ล………… เลือกเสรี 3 2 (- - -)
รวม 16 หน่วยกิต 16(10-11-21บวกวิชาเลือก)

ภาคการศึกษาที่ 2
พย. 1418 ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 2                                                                                               3(0-9-0)
พย. 1424 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2                                                                  2(0-6-0)
พย. 1429 ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล                                                                                             2(0-6-0)
                 ฝึกปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 140 ชั่วโมง


                   รวมตลอดชั้นปีที่ 4 ลงทะเบียนเรียนจำนวน       23    หน่วยกิต
                   รวมตลอดหลักสูตร ลงทะเบียนเรียนจำนวน    136    หน่วยกิต


หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต